หมอชนะ
เคยมีคำถามว่า. เป้าหมายของหมอชนะจะต้องช่วยคนจำนวนกี่คนถึงจะได้ตามเป้าหมายที่วางไว้.
เพียง 1 คน เท่านั้น ทุกชีวิตมีค่า ไม่ควรที่จะมีการสูญเสีย”
ต้นเดือนมกราคม
เริ่มมีการระบาด Covid ในหลายๆส่วนของโลกยังไม่มีนโยบายในการป้องกันหรือลดปริมาณการติดเชืออย่างชัดเจน
หมอชนะเกิดขึ้นจากคนกลุ่มเล็กๆที่มีเป้าหมาย เดียวกันคือการลดปริมาณการติดเชือ ในช่วงนั้นส่งผลกับจำนวนผู้เสียชีวิต จึงเริ่มเกิดการรวมตัวของ developer ในช่วงแรกไม่ถึงสิบคน
หนึ่งในวิธีการลดปริมาณการติดเชื่อคือ contact tracing แจ้งเตือนผู้ที่มีความเสี่ยงให้ได้เร็วที่สุด เป็นที่มาของการใช้งาน Geolocation(GPS), Bluetooth และ scan QR code ของหมอชนะด้วยกัน โดย QR code ที่ออกแบบนั้นจะต้องป้องกันการปลอมแปลง และ สามารถตรวจสอบ QR ที่ไม่ได้ update ได้ เพื่อความถูกต้องของ QR ที่แบ่งแยกความเสี่ยงแต่ละคน
ข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันคือ
ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
รองรับการใช้งานอย่างน้อย 20% ของจำนวนประชากรในประเทศไทย (ในการใช้งานจริง มีการใช้งานถึง 6M concurrent)
ลดภาระในการดูแลระบบ
มีความปลอดภัยสูง
มีความโปรงใส่ ใครๆก็สามารถเข้าถึง และตรวจสอบได้
จะต้องเสร็จใน 2 อาทิตย์
code ทั้งหมดจะต้อง opensource https://github.com/codeforpublic
หลังจากการพัฒนาในช่วงแรกเสร็จ เราได้รับการสับสนุกจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ไปจนถึงกลุ่มอาสามัครต่างๆ เข้ามาช่วยผลักดันให้เกิดการใช้งานในวงกว่างมากขึ้น https://www.blognone.com/node/115736 ด้วยหนึ่งในข้อตกลงในการพัฒนา คือเรื่องความโปรงใส และ ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ทีมหมอชนะจึงช่วยผลักดันให้เกิด “คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลแอปพลิเคชันหมอชนะ” เพื่อให้มีการใช้งานข้อมูลเป็นไปตามข้อตกลง
ด้วยรูปแบบการทำงานของ opensource จึงเปิดโอกาสให้ อาสาสมัครที่สนใจ เข้ามาร่วมพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ทำให้การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาและเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิด sandbox จังหวัดภูเก็ต ไปจนถึงการเปิดประเทศ